คราวที่แล้วเราได้พูดถึงการสังเกตตัวเองและเพื่อนรอบข้างที่ประสบภาวะ QQ
แต่ในฐานะ ผู้ประกอบการ หรือ หัวหน้า จะทำอย่างไรดี!?
เมื่อคุณพบว่าพนักงานในบริษัทเกิดความรู้สึก
“เบื่องานแต่ไม่ลาออก”
“ทำงานไปวันๆ”
“นี่ไม่ใช่ธุระหรืองานของฉัน”
ในเคสนี้ เหล่าเจ้าของบริษัทและหัวหน้าจะแก้ไขปัญหานี้ยังไงดี?
แน่นอนว่าหากพูดถึงช่วงเวลาที่แสนยากลำบากของทุกๆธุรกิจที่ผ่านมานั้นก็คือยุค COVID-19 หลายๆบริษัทพยายามหาทุกวิถีทางเพื่อความอยู่รอดของบริษัท วิธีที่ยอดนิยม คือ ปลดพนักงานบางส่วน บางทีมออก ส่วนคนที่อยู่ ต่อก็ปุ๊บปั๊บรับโชค ได้รับภาระหน้าที่เพิ่มเติม สิ่งที่ตามมาก็คือส่งผลให้พนักงานต่างก็หมดไฟในการทำงาน จนกระทั่งกลายเป็นทำงานแค่ตามหน้าที่ เมื่อนานๆเข้าสั่งสมจนกลายเป็นสภาวะ Quiet Quitting (QQ)นั้นเอง!
ในฐานะผู้ประกอบการ เจ้าของบริษัท หรือ หัวหน้างาน คงจะไม่ชอบใจหากพนักงานเกิดภาวะเช่นนี้ แต่..แล้วฉันเลือกอะไรรได้ไหมมมมมม?
7 ข้อพื้นฐานสำหรับผู้ที่อยากแก้ไขปัญหา
จากการตระเวนและช่วยแก้ไขปัญหาด้านบุคคลให้กับองค์กรต่างๆทั้งเอกชน ภาครัฐ SME สิ่งที่เป็นพื้นฐานที่พี่โมอยากแนะนำสำหรับผู้ที่อยากแก้ไขปัญหาเป็นแต่ละข้อๆไปเช่น..
Comfort Zone : การสร้างให้ตนเองเป็นหัวหน้าที่เป็นพื้นที่ปลอดภัย ทำให้พนักงานกล้าพูดคุยด้วย อย่างจริงใจ
Straight Forward Communication : การพยายามพูดคุยกับพนักงานอย่างตรงไปตรงมา เช่น การพูดคุยกันถึงความคาดหวัง ความต้องการ
Listening with Emphaty : ใส่ใจ รับฟัง และแสดงให้พนักงานเห็นว่า เขามีคนเห็นคุณค่า เห็นความหมายในสิ่งที่พวกเขาทำ
Let's take a quality rest : การสร้างความเข้าใจ และส่งเสริมให้พนักงานในทีมมีเวลาพักผ่อน เช่น การลาพักร้อนโดยไม่ต้องกังวลเรื่องงาน
Positive Environment : สร้างบรรยากาศที่ดีต่อสุขภาพจิต เช่น จัดกิจกรรมคลายเครียด ทำให้ทีมได้รู้จักกันมากขึ้น
Understaning Nature of Business : สื่อสารให้พนักงานเข้าใจธรรมชาติของงานนั้นๆ
Discovering a new thing : มีเวลาให้พนักงานทำสิ่งใหม่ๆ และเรียนรู้ มีพื้นที่ให้เติบโต
แล้วจะช่วยได้อย่างไร?
เชื่อเถอะค่ะว่าการมีใครสักคนในที่ทำงาน ที่ช่วยรับฟังปัญหาของพนักงาน คอยถามไถ่อย่างใส่ใจและเป็นพื้นที่ปลอดภัยจะทำให้พนักงานกล้าที่จะเล่า ระบายความในใจ และช่วยทำให้บรรยากาศการทำงานและองค์กรขับเคลื่อนไปแบบก้าวกระโดดจากการที่พนักงานช่วยเหลือกันพัฒนาและหวังดีกับองค์กร แต่การปรับเปลี่ยนในทันทีทันใดก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เมื่อในวัฒนธรรมบางองค์กรถูกฝังรากลึกไปแล้ว หรือไม่สามารถแตะไปถึงแก่นของปัญหาที่แท้จริง หรือถ้าหากหัวหน้าหรือเจ้าของ
หรือ HR ไม่สามารถทำได้ก็ไม่ใช่จะหมดหวังไปซะทีเดียว อีก 1 ทางออกที่นิยมกันอย่างแพร่หลายใน การพัฒนาองค์กรและปรับจูนความคิด กับเหล่าพนักงานคือ การเข้ามามีส่วนร่วมของ HR Business Partner คือ การมีคนนอกองค์กรมาช่วยมองจากมุมมองที่กว้างขึ้น และ เป็นคนที่ไม่ตัดสิน หรือ ฟังความฝ่ายใดฝ่ายนึง ทำหน้าที่คอยรับฟัง ชวนคุย และหาทางออกร่วมกันเพื่อจุดประสงค์เดียวกับหัวหน้าและเจ้าขององค์กร ก็จะช่วยแก้ไขปัญหา และ ช่วยประหยัดเวลาในการวางรากฐานวัฒนธรรมขององค์กรใหม่ได้เช่นกันค่ะ
แล้วบทความหน้า เราจะมาหาวิธีในการออกจาก สภาวะคิวคิว นี้กัน หรือถ้าลูกน้องเราหรือเพื่อนร่วมงาน คนในทีมของเราอยู่ใน สภาวะคิวคิว เราจะช่วยเค้าอย่างไรดี?
สำหรับวันนี้ถ้ามีข้อสังเกตอื่นๆต้องการคำปรึกษาก็สามารถสอบถามมาได้เลยค่ะ
Line OA: @modernhrthailand
หรือ คลิก https://lin.ee/ggCaYPC
Facebook: Modern HR by Mo